|
ถ้ามีไฟเตือน รูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถ ควรทำอย่างไร ?โดยปกติแล้ว เราจะเห็น เจ้าสัญญาณเตือนรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถยนต์ เมื่อบิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนจะต้องสว่างนิ่งและเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ หากเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่สว่างขึ้น ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างร้ายแรง ต้องอธิบายก่อนว่าการที่มีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ขึ้นนั้น มิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่ไฟหมดหรือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึงความผิดปกติของระบบไดชาร์จ ทำให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้ไฟจากแบตเตอรี่อย่างเดียว ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้ามี่ไฟเตือนขึ้นควรทำอย่างไร อันดับแรกให้สันนิษฐานไว้ก่อน 2 กรณี ดังนี้
1.ไดชาร์จเสียหรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย
2.สายพานไดชาร์จขาด ให้รีบจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสานพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในระยะทางสั้นๆ 5-10 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียงฯลฯ เพื่อให้มีการ ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช้าและน้อยลง เพื่อที่จะนำพารถไปถึงศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดได้ เพื่อทำการซ่อมแซม แต่ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสภาพของไดชาร์จ สายพาน ให้อยู่ในสภาพปกติทุกครั้งก่อนเดินทาง และเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการตามระยะเวลาที่คู่มือรถกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการขับขี่อย่างมั่นใจตลอดทางนะครับ
|
|
การถอดแบตเตอรี่อย่างถูกวิธี และปลอดภัย การเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยจะได้ทำบ่อยนักเพราะแบตเตอรี่ 1 ลูกหากมีการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถใช้ได้นาน 2-3ปีเลยทีเดียว การเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไร แต่ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ระบบควบคุม และอุปกรณ์ต่างๆซึ่งปัจจุบันล้วนเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง หรือดึงกุญแจออกก่อน
2.ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3.และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
ถ้าจะให้จำง่ายๆก็คือ “ถอดลบ (-) ใส่ (+)” เพื่อป้องกันการลัดวงจรและก่อนให้เกิดความเสียหายแก่รถของคุณ
|
|
การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน ในบางครั้งเราหรือเพื่อนร่วมทาง อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าไฟหมด อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลืมปิดไฟหน้า ลืมปิดอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า จนไฟหมด หรือแบตเตอรี่เสื่อม อาจจะต้องมีการต่อพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่น เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีดังนี้
1.ดูประเภทรถที่เหมาะสมกัน ให้ดูจากขนาดแบตเตอรี่เป็นหลัก คือรถที่จะนำมาต่อพ่วงต้องมีขนาดเท่าใกล้เคียงกันหรือใหญ่กว่ารถที่ไฟหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารถที่ไฟหมดเป็นรถกระบะคันใหญ่ จะนำรถเก๋งขนาดเล็กมาต่อพวงไม่ได้เพราะจะสตาร์ทเครื่องไม่ติด เนื่องจากขนาดของไดสตาร์ทของรถกระบะมีขนาดใหญ่ต้องการกำลังไฟมากกว่านั้นเอง
2.สายที่นำมาใช้ต่อพ่วงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และไม่ยาวจนเกินไป จำนวน 2 เส้น เพื่อที่จะสามารถนำพาประจุไฟฟ้ามาใช้ในการสตาร์ทได้อย่างเต็มที่ เราจะสังเกตได้จากอุณหภูมิที่ตัวสายพ่วงขณะสตาร์ทจะร้อนมาก ถ้าใช้สายเส้นเล็กอาจจะทำให้สตาร์ทไม่ติดและสายไฟอาจละลายขาดได้เลยทีเดียว ควรมีสีที่ต่างกัน สีละเส้นพื่อป้องกันการต่อสลับขั้ว ที่นิยมใช้ คือ แดง(+) ดำ(-)
3.นำรถมาจอดคู่กัน ให้ด้านที่มีแบตเตอรี่หันเข้าหากันเพื่อสะดวกในการต่อพ่วง และควรจอดในลักษณะที่ปลอดภัยด้วย
4.การต่อขั้วบวก(+) สายพ่วงเส้นสีแดงเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด อีกข้างหนึ่งของสายต่อ กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ
5.การต่อขั้วลบ(-) สายพ่วงเส้นสีดำ เข้ากับขั้วลบ(-) ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ อีกข้างหนึ่งของสายพ่วงต่อเข้ากับโครงรถหรือเสื้อสูบเครื่องยนต์ของคันที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ
6.เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น |
|
จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม หากแบตเตอรี่หมดสภาพ หรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ จะเปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดีไหม ถ้าใช้แอมป์สูงขึ้นไดชาร์จจะพังหรือเปล่า เป็นคำถามที่หลายคนหนักใจเพราะกังวลว่าจะทำให้เครื่องและระบบไฟฟ้าเสียหาย แต่ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ขึ้น แอมป์สูงขึ้น จะทำให้รถยนต์ของคุณมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น มีกำลังไฟสตาร์ทแรงขึ้น และทำให้ไดชาร์จทำงานหนักน้อยลง ไม่พังง่ายฉะนั้นเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ควรคำนึงว่าหากต้องเพิ่มเงินไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้สิ่งที่คุ้มค่ากว่ากลับคืนมา แต่ต้องดูพื้นที่ด้วยว่าสามารถวางแบตเตอรี่ลูกที่ใหญ่กว่าได้หรือไม่ |
|
รายละเอียดการรับประกันแบตเตอรี่ ทางบริษัทฯ จะรับประกันคุณภาพแบตเตอรี่ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ความเสียหายที่เกิดจากขบวนการผลิต
1.1. แบตเตอรี่รับประกัน 12 เดือน หรือ 20,000 กิโลเมตร (โดยนับจากวันที่ซื้อแบตเตอรี่) แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน หมายเหตุ : สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น มิใช่เพื่อรับจ้างและการพาณิชย์
1.2. ในกรณีแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือใช้งานไม่ได้ ก่อนสิ้นระยะเวลารับประกัน โดยบริษัทฯ ได้พิจารณาชดเชยแบตเตอรี่ ใหม่ให้แก่ลูกค้า โดยบริษัทฯ จะทำการชดเชยสินค้าเพียง 1 ครั้ง หรือ 1 ลูกเท่านั้น (โดยนับระยะเวลาประกันต่อเนื่อง จากระยะเวลารับประกันที่เหลือของแบตเตอรี่ลูกที่นำมาเคลม)
2. ข้อยกเว้นในการรับประกันแบตเตอรี่
2.1. พ้นกำหนดระยะเวลารับประกัน
2.2. สามารถชาร์จไฟคืนได้
2.3. ไม่มีใบรับประกัน, ไม่กรอกรายละเอียดที่ครบถ้วน ชัดเจน และมีการแก้ไขดัดแปลงข้อความที่ระบุไว้, ไม่ระบุวันที่ขาย/ติดตั้ง
2.4. สติกเกอร์หลุดหาย, ฉีกขาด, และลอกไม่ถูกต้อง (ขอให้ระบุรุ่น, ยี่ห้อรถที่ติดตั้ง และอายุการใช้งานรถโดยประมาณ)
2.5. ความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานผิดประเภท หรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
2.6. แบตเตอรี่แตก, รั่ว, ซึม, การตกกระแทก, ระเบิด, การทุบและกระแทกจากภายนอก
2.7. การต่อแบตเตอรี่ผิดขั้ว
2.8. เกิดความบกพร่องของตัวรถยนต์เอง เช่น ระบบไฟรถยนต์รั่ว, ไฟลัดวงจร
2.9. ระบบไดชาร์จ และไดสตาร์ทของรถยนต์เกิดความบกพร่องซึ่งไม่สามารถชาร์จไฟได้ และสตาร์ทได้
2.10. การอัดประจุไฟมากเกินไป (Over Charge) และขาดการประจุไฟเพิ่มเมื่อแบตหมด (Over Discharge)
2.11. ดูแลระดับกรดไม่ดีจนระดับน้ำกลั่นต่ำกว่าระดับต่ำสุด และเกินกว่าระดับสูงสุดที่กำหนดไว้
2.12. เติมสารอื่นใดที่ไม่ใช่น้ำกลั่นบริสุทธิ์ หรือน้ำกรดที่ใช้กับแบตเตอรี่
2.13. ขาดการบำรุงรักษา และขาดการทำความสะอาด ทำให้จุกอุดตันและก่อให้เกิดปัญหากับแบตเตอรี่
2.14. สาเหตุอื่นๆ ที่เกิดจากการต่อพ่วงแบตเตอรี่ กับอุปกรณ์ภายนอก และนำมาซื่งความเสียหายต่อแบตเตอรี่
2.15. การเกิดอุบัติเหตุ, ภัยธรรมชาติ, ความประมาทเลินเล่อ, ความบกพร่องจากผู้ใช้ หรือช่างที่ขาดความชำนาญ
2.16. แบตเตอรี่ถูกนำไปใช้งานผิดวัตถุประสงค์ นอกเหนือจากการสตาร์ทรถยนต์
2.17. มีการแก้ไขดัดแปลง ซ่อมแซม ต่อเดิมอุปกรณ์ใดๆ บนแบตเตอรี่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2.18. มีการพลิกคว่ำแบตเตอรี่
2.19. กรณีเปลี่ยนแบตเตอรี่ไปใส่ในรถที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุในใบรับประกัน
|
|
ข้อพึงระวังในการใช้งานแบตเตอรี่
1.หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักเกินไป เช่น ใช้ไฟ้ฟ้าจากแบตเตอรี่จนไฟหมดสตาร์ทเครื่องไม่ได้เป็นประจำจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุสั้นลง
2.หลีกเลี่ยงการอัดไฟมากเกินไป การอัดไฟมากเกิดไปจะทำให้อายุแบตเตอรี่สั้น ดังนั้นควรอัดไฟด้วยวิธีที่ถูกต้อง
3.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด อย่าให้อุณหภูมิของน้ำกรดสูงเกิน 60°C
4.รักษาระดับน้ำกรดให้พอดี ขณะใช้งานน้ำกรดจะค่อยๆ ลดระดับลง ดังนั้นต้องเติม "น้ำกลั่น" เท่านั้น อย่าปล่อยให้ระดับน้ำกรดต่ำกว่าแผ่นธาตุ และระวัง! อย่าเติมจนล้น
5.ห้ามใช้งานใกล้เปลวไฟ เนื่องจากในแบตเตอรี่มีปฏกิริยาเคมีทำให้เกิดก๊าชไฮโดรเจน และอ็อกซิเจนขึ้น อาจเกิดอันตรายได้
6.รักษาแบตเตอรี่ให้แห้ง และสะอาด ควรรักษาสถาพภายนอกของแบตเตอรี่ให้แห้งและสะอาด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วและผุกร่อน |
|
วิธีการบำรุงรักษา
1.หมั่นตรวจดูรูระบายอากาศที่จุก อย่าให้สิ่งสกปรกไปอุดตันโดยเด็ดขาด
2.กรณีขั้วสกปรกหรือมีคราบขาว (ขี้เกลือ) เกาะให้ล้างทำความสะอาดด้วนน้ำร้อนและทาด้วยจาระบี หรือวาสลีนรอบๆ ขั้วของแบตเตอรี่
3.หมั่นตรวจดูปริมาณน้ำกรดในแบตเตอรี่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งให้อยู่ในระหว่างระดับ UPPER และ LOWER ใช้นำกลั่นเติมเท่านั้นห้ามใช้น้ำกรดเติมเด็ดขาด
4.ควรตรวจดู เรกูเรเตอร์ และระบบไฟชาร์ตของรถยนต์ทุกๆ 6 เดือน
5.แบตเตอรี่ที่ถูกเก็บไว้นานๆ โดยไม่ไดใ้ช้หรือใช้งานไม่สม่ำเสมอ ให้นำไปอัดไฟอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
6.ในกรณีแบตเตอรี่เสียหรือไฟหมดให้นำไปตรวจเช็คที่ร้านตัวแทนจำหน่าย |
|
เราจะทราบได้อย่างไรว่า แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม เมื่อเราใช้แบตเตอรี่ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้
1.เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2.ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3.ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4.ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ
เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านตัวแทนจำหน่าย GS แบตเตอรี่ เพื่อเปลี่ยนใหม่ได้เลยครับ |
|
1.GS Battery Technology Do you know ?
2.GS Battery World-Wide
3.GS Battery World-Class Technology : เทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลกแบตเตอรี่ GS เป็นแบตเตอรี่ยานยนต์คุณภาพสากล ที่มีบริษัท แจแปน สโตร์เรจ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้สนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมคุณภาพให้แบตเตอรี่ GS ที่ผลิตจากทั่วทุกประเทศของโลกอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งแบตเตอรี่ GS ในประเทศไทยได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากลระดับโลกต่างๆ อาทิเช่น
4.ISO 9002 : ระบบบริหารคุณภาพที่เป็นเยี่ยมด้านสินค้าและบริการจาก BVQI ที่รับรองโดย สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้รับเมื่อปี ค.ศ 1996
5.QS 9000 : ระบบมาตรฐานร่วมสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของกลุ่ม Big Three (GM, Ford, Chrysler) ได้รับเมื่อปี ค.ศ 1999
6.ISO 14001 : ระบบมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมโดย UKAS ประเทศอังกฤษได้รับเมื่อปี ค.ศ 2002
7.ISO/TS 16949 : ระบบมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพที่เป็นหนึ่งเดียวสำหรับผู้ประกอบการ ด้านยานยนต์ทั่วโลก จาก IATF ได้รับเมื่อปี ค.ศ 2007 นับว่า GS เป็นแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพระดับสากล เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ซึ่งในปัจจุบันแบตเตอรี่ GS มีโรงงานผลิตในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, ปากีสถาน, จีน, เวียตนาม, มาเลเซีย, ประเทศในแถบตะวันออกกลาง,สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, อินเดีย และประเทศญี่ปุ่น
GS เป็นแบตเตอรี่เพียงยี่ห้อเดียวที่มีจำนวนโรงงานผลิตครอบคลุมมากที่สุด จำนวน 28 แห่ง ใน 14 ประเทศทั่วโลก ด้วยความที่แบตเตอรี่ GS เป็น World-Class Technology ทำให้ แบตเตอรี่ GS มียอดขายสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และทวีปเอเซีย ตลอดจนมียอดขายสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก |
|
สติ๊กเกอร์การรับประกัน สติ๊กเกอร์การรับประกันที่ติดอยู่บนฝาแบตเตอรี่ทุกลูกนั้น ร้านค้าผู้จำหน่ายต้องใช้งานให้ถูกวิธี เพื่อผลของการส่งเคลม อาทิ ร้านค้าต้องลอกสติ๊กเกอร์ของช่อง เดือน และปี ที่แบตเตอรี่ลูกนั้นถูกจำหน่ายออก เพื่อทราบระยะเวลาของการใช้งานจริง |
|
วิธีอ่านรหัสการผลิตที่ปรากฎบนฝาแบตเตอรี่ รหัสตัวอักษรและตัวเลขที่ปรากฎบนฝาของแบตเตอรี่นั้น เป็นตัวบอกถึง วัน - เดือน - ปี ผลิตของแบตเตอรี่แต่ละลูก ซึ่งจะมีประโยชน์กับร้านค้าด้านการบริหารการจำหน่าย ก่อน - หลัง และการส่งเคลม |
|
วิธีอ่านและความหมายของรุ่นแบตเตอรี่ตามมาตราฐาน JIS ตัวอักษรที่ใช้เรียกเป็นชื่อรุ่นแบตเตอรี่ในแต่ละรุ่นนั้น ได้ถูกกำหนดขึ้นตามมาตราฐาน JIS โดยแต่ละตัวมีที่มาและมีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวแบตเตอรี่ ดังนี้ |
|
ลักษณะและสาเหตุการเสียของแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและวิเคาระห์ถึงลักษณะและสาเหตุของการเสียของแบตเตอรี่ที่เสียและชำรุดก่อนกำหนดอายุการใ้ช้งาน โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากลักษณะและสาเหตุการเสียของแบตเตอรี่ ดังนี้
1.โอเวอร์ชาร์จ (Over Charge)
2.ซัลเฟชั่น (Sulfation)
3.โอเวอร์ดีสชาร์จ (Over Discharge)
4.ผนังแตก (Broken Partition) |
|
เติมน้ำกลั่นให้ ‘แบต’ ชาร์จพลังรถ ในช่วงเวลาที่ต้องเร่งรีบเดินทางไปทำธุระหรือประชุมกับลูกค้า หลายคนคงเคยเจอปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับรถยนต์ ทั้งเรื่องเครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก ไฟหน้ามีความสว่างน้อยลง หรือระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์เริ่มทำงานผิดปกติ โดยปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาพความเสื่อมของแบตเตอรี่ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่ต่ำซึ่งเราสามารถป้องกันและเตรียมความพร้อมให้กับแบตเตอรี่ก่อนการเดินทางทุกครั้งได้ด้วยการเติม ‘น้ำกลั่น’ เพื่อลดปริมาณน้ำกรดที่กัดกร่อนแผ่นธาตุให้เจือจางลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพเร็ว และควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นเป็นประจำเพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้อีกนาน
การเติมน้ำกลั่นให้กับแบตเตอรี่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตรวจเช็คเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยสามารถแบ่งลักษณะการเติมได้ตามประเภทของแบตเตอรี่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบตเตอรี่ชนิดเปียก (Lead Acid) ควรตรวจเช็คและเติมน้ำกลั่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และแบตเตอรี่ชนิดแห้ง (MF – Maintenance Free) ควรตรวจเช็คและเติมน้ำกลั่นเป็นประจำทุกเดือน โดยสังเกตระดับน้ำกลั่นได้จากช่องตาแมว (Indicator) โดยควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมน้อยกว่าระดับเพราะจะทำให้ปริมาณน้ำกรดเข้มข้นเป็นสาเหตุให้แผ่นธาตุถูกกัดกร่อนเร็วขึ้น และไม่ควรเติมมากกว่าระดับที่กำหนด เพราะจะทำให้น้ำกรดล้นออกมาจากแบตเตอรี่และเกิดคราบขี้เกลือเกาะบริเวณขั้วแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างแบตเตอรี่และอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ทำงานได้ไม่เต็มที่
เติม ‘น้ำกลั่น’ ชาร์จพลังแบต
1.เปิดฝาจุกด้านบนของแบตเตอรี่ทั้ง 6 ฝา เพื่อเช็คสภาพน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับใด
2.ถ้าน้ำกลั่นอยู่ในระดับต่ำกว่าที่กำหนด หรือลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดง ควรเติมน้ำกลั่นลงไปให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร
3.อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากแบตเตอรี่
4.หากน้ำกลั่นล้นออกมานอกแบตเตอรี่ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที
5.เมื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดฝาจุกทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพเมื่อเริ่มใช้ประมาณ 1-2 ปี ดังนั้น การตรวจเช็คสภาพของแบตเตอรี่ให้มีความพร้อมอยู่เสมอจึงเป็นวิธีการยืดอายุการใช้ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ เป็นประจำทุกอาทิตย์
|
|
หมดห่วงเรื่อง “จัมพ์” แบต เวลาแบตหมด เวลาขับรถบนท้องถนน ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด แต่บ่อยครั้งก็มักเกิดปัญหาไม่คาดคิดโดยเฉพาะปัญหาแบตเตอรี่หมด ที่ทำให้ระบบเครื่องยนต์หยุดชะงัก และเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้า ด้วยวิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัมพ์แบตเตอรี่” เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ปัญหาของแบตเตอรี่หมดระหว่างการขับรถบนท้องถนนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสายต่อไดชาร์จหลวม น้ำกลั่นหมด แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอ การจัมพ์แบตเตอรี่เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เสริม และต่อสายพ่วงกับรถยนต์อีกคันหนึ่งในการชาร์จไฟ เพื่อให้ระบบได้ทำงาน หลังจากนั้นจึงนำรถยนต์ไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องยนต์จากช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง
“การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้”
1.เมื่อแบตเตอรี่หมด ให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถ และขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
2.นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด หลังจากนั้นนำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน
3.นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบ ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมดมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายพ่วงต่อแน่นหนา
4.ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า
5.หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ
6. ถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออก จากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ
ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่อง และควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
ปลอดภัยเวลา “จัมพ์แบตเตอรี่”
1.ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
2.เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
3.ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่
4.ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้
5.ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น
-สีเขียว แสดงว่า ประจุไฟฟ้าเต็ม
-สีน้ำตาล หรือสีดำ แสดงว่า ประจุไฟหมด
-สีเหลือง แสดงว่า แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน
|
|
|